อัพเดท 2023-08-31
MoneyDLife-ธปท.เล็งปรับลดประมาณการณ์เศรษฐกิจปี2566 เนื่องจากส่งออกยังติดลบ และยังฟื้นตัวได้เล็กน้อยตามภาสะตลาดโลก และการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเข้ามาน้อย ต่ำกว่าที่ประมาณการณ์ ส่วนนโยบายรัฐบาลจะมีผลกับเศรษฐกิจไทยในปีหน้า เงินดิจิทัลหมื่นบาทต่อคน 5 แสนล้านบาท มีผลต่อจีดีพี 3 % ตามการหมุนรอบของเงิน 1 รอบ
นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เปิดเผยว่า เศรษฐกิจโดยรวมมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายภายประเทศ ท่องเที่ยว การส่งออกยังฟื้นตัวเท่าที่ควร โดยในช่วงไตรมาศ 3 การฟื้นตัวเศรษฐกิจเริ่มแผ่วลง รวมถึงนักท่องเที่ยวที่เข้ามาปริมาณเพิ่มขึ้น แต่ยอดการใช้จ่ายไม่เป็นไปตามเป้าหมาย การส่งออกยังติดลบ ส่งผลให้ธปท.จะต้องมีการทบทวนประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่ง การฟื้นตัวของจีดีพีปีนี้อาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายต้องปรับประมาณการณ์ลดลง
โดยช่วงไตรมาศ 4 ปีนี้ การส่งออกค่ดว่าจะเพิ่มขึ้น เป็นบวก ซึ่งจะเแ็นผลดีกับเศรษฐกิจไทย ส่วนมาจรการต่างๆของรัฐบาล ขณะนี้เริ่มชัดเจแล้วว่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลได้แล้ว คาดว่าผลของนโยบายรัฐ จะมีผลกับเศรษฐกิจในปีหน้า โดยในปีหน้าปัจจัยที่จะช่วยหนุนเศรษฐกิจ 3 ปัจจัยหลักคือ 1.นักท่องเที่ยว ที่คาดส่าจะกลับเข้ามาในจำนวนเพิ่มขึ้น 2.เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวและ3.มาตราการรัฐบาล
ส่วนนโยบายเงินดินิทัล 1 หมื่นบาท นั้น ธปท.ยังไม่นำมาเข้าการประเมินเศรษฐกิจในปีนี้ และขอดูรายละเอียดที่ชัดเจนว่าจะเป็นเงินรูปแบบใด เม็ดเงินเท่าไร มีเวือนไขการใบ้จ่ายอย่างไรบ้าง แต่ถ้าตามข่าวปกติเม็ดเงินตามนโยบาย 5 แสนล้านบาท ประมาณ 3 %ของจีดีพี
สำหรับเศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม 2566 ยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัว โดยการใช้จ่ายในประเทศ เพิ่มขึ้นจากทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ส่วนหนึ่งการบริโภคได้รับผลดีจากช่วงวันหยุดยาว ด้านจานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐ ขยายตัวจากรายจ่ายลงทุน อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกสินค้าปรับลดลงจากหมวดอิเล็กทรอนิกส์และ เกษตรเป็นสาคัญ ส่วนหนึ่งจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ชะลอลง
เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากหมวดพลังงาน ตามราคา น้ามันดิบในตลาดโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและหมวดอาหารสดปรับลดลงจากผลของฐานสูงในปีก่อน ด้านตลาดแรงงานยังฟื้นตัว สาหรับดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลจากดุลการค้าที่เกินดุลลดลงตามมูลค่า การส่งออกเป็นสาคัญ
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยมีดังนี้
จานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนในหลาย สัญชาติ อาทิ รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวรัสเซียที่มีการเพิ่มจานวนเที่ยวบิน ระหว่างรัสเซียและไทยมากขึ้น ส่วนนักท่องเที่ยวบางสัญชาติ อาทิ ออสเตรเลีย สิงค์โปร และยุโรป ปรับลดลง เล็กน้อย
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามหมวดบริการ และสินค้าไม่คงทนเป็นสาคัญ ทั้งการใช้จ่ายในหมวดโรงแรมและภัตตาคาร และหมวดขนส่งผู้โดยสาร และ ยอดจาหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค สอดคล้องกับจานวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งได้รับผลดีจาก ช่วงวันหยุดยาว
ทั้งนี้ ปัจจัยสนับสนุนกาลังซื้อภาคครัวเรือนด้านการจ้างงานนอกภาคเกษตรปรับดีขึ้น ขณะที่ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงบ้างจากความไม่แน่นอนในการจัดตั้งรัฐบาล
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ตามการลงทุนใน หมวดก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นจากทั้งยอดจาหน่ายวัสดุก่อสร้างและพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง และการลงทุนใน หมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ตามยอดจาหน่ายเครื่องจักรในประเทศและยอดจดทะเบียน รถยนต์เชิงพาณิชย์
การใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน จากรายจ่าย ลงทุนด้านคมนาคม ขณะที่รายจ่ายประจาทรงตัวจากปีก่อน โดยรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการขยายตัว แต่รายจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรลดลงหลังเร่งเบิกจ่ายไปในช่วงก่อนหน้า สาหรับรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ หดตัวจากผลของฐานสูงตามการเบิกจ่ายโครงการลงทุนด้านคมนาคมในปีก่อน
มูลค่าการนาเข้าสินค้าไม่รวมทองคาที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วลดลงจากเดือนก่อน ตามการ นาเข้าเชื้อเพลิง โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติหลังจากเร่งไปแล้วในเดือนก่อน อย่างไรก็ดี การนาเข้าวัตถุดิบและ สินค้าขั้นกลางที่ไม่รวมเชื้อเพลิง ปรับเพิ่มขึ้นตามการนาเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
มูลค่าการส่งออกสินค้าไม่รวมทองคาที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วลดลงจากเดือนก่อน โดยเฉพาะ 1) ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ไปฮ่องกงและสหรัฐฯ 2) ทุเรียนไปจีนที่ลดลงตามผลผลิตที่หมดฤดูกาล และ 3) เคมีภัณฑ์ ไปจีนและอาเซียน อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าหมวดยานยนต์เพิ่มขึ้นหลังปัญหาด้านอุปทานทยอยคลี่คลาย รวมทั้งหมวดเกษตรแปรรูปที่เพิ่มขึ้นตามการส่งออกอาหารกระป๋องไปสหภาพยุโรปและอาหารสัตว์ไปจีน
การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วปรับดีขึ้นในหลายหมวด หลังจากชะลอลง ในช่วงก่อน โดยเฉพาะการผลิตใน 1) หมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นตามการผลิตน้าตาล 2) หมวด ยานยนต์จากการผลิตรถยนต์เชิงพาณิชย์ และ 3) หมวดยางและพลาสติกตามการผลิตยางล้อที่เพิ่มขึ้นหลัง ลดลงต่อเนื่องในช่วงก่อน อย่างไรก็ตาม การผลิตสินค้าหมวดฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ลดลงตามรอบการส่งมอบสินค้า และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับลดลงจากเครื่องปรับอากาศทเี่ร่งไปแล้วในช่วงก่อนหน้า
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากหมวดพลังงานตามราคา น้ามันดิบในตลาดโลก ส่วนหมวดอาหารสดปรับลดลงจากทั้งผลของฐานสูงในปีก่อน และราคาเนื้อสุกรและผัก ที่ลดลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงจากผลของฐานสูงในราคาอาหารสาเร็จรูป ด้านตลาดแรงงานยัง ฟื้นตัว สะท้อนจากจานวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคบริการ สาหรับ ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลจากดุลการค้าที่เกินดุลลดลงตามมูลค่าการส่งออก
ประกอบกับดุลบริการ รายได้ และเงินโอนขาดดุลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. เฉลี่ยแข็งค่าขึ้น เนื่องจากตลาดปรับลดการคาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกอบกับ สถานการณ์การจัดตั้งรัฐบาลของไทยมีทิศทางที่ชัดเจนขึ้นในช่วงปลายเดือน